ตัววิ่ง

โค้ดตัวอักษรวิ่ง ยินดีต้อนรับสู่บล็อกภาษาไทยของนางสาวลลิตา รอดประเสริฐ

วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 มหาชาติหรือมหาเวสสันดรชาดก

            กล่าวถึงเหตุที่จะมีเรื่องเวสสันดรชาดกขึ้นกับเล่าเรื่องพระนางผุสดีในอดีตจนถึงทูลขอพร ๑๐ ประการ จากท้าวมัฆวารผู้ภัสดาพระนางผุสดีได้รับพรทิพย์ ๑๐ ประการ ในวันจะเกิดมาเป็นมารดาของพระเวสสันดร ณ เมืองสีพีราษฎร์
เนื้อเรื่อง
เมื่อครั้งอดีตกาลที่ล่วงมานครสีพีรัฐบุรีนั้นมีพระราชาพระนามสีพีราช ทรงครองเมืองโดยทศพิธราชธรรมพระราชาทรงยกบัลลังก์ให้พระโอรสขึ้นเสวยราชย์แทน เมื่อเจริญวัยสมควรแล้วพระราชโอรสมีพระนามว่า "สัญชัย" และได้อภิเษกกับพระนางผุสดีพระธิดาแห่งราชากรุงมัททราช
พรจากภพสวรรค์แต่ปางก่อนนั้นผุสดีเทวีเสวยชาติเป็นอัครมเหสีของพระอินทร์เมื่อจะสิ้นพระชนมายุจึงขอกัณฑ์ทศพรจากพระอินทร์ได้ ๑๐ ข้อทั้งยังเคยโปรยผงจันทร์แดงถวายพระวิปัสสีพุทธเจ้าและอธิฐานให้ได้เกิดเป็นมารดาพระพุทธเจ้าด้วย พร ๑๐
ข้อคิดประจำกัณฑ์
การทำบุญจักให้สำเร็จสมประสงค์ต้องอธิษฐานจิตตั้งเป้าหมายชีวิตที่ตนปรารถนาไว้ ความปรารถนาที่จะสำเร็จสมดังตั้งใจผู้นั้นต้องมีศีลบริบูรณ์ กล่าวคือ
๑. ต้องกระทำความดี
๒.ต้องรักษาความดีนั้นไว้
๓. หมั่นเพิ่มพูนความดีให้มากยิ่งขึ้น อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่7 มงคลสูตรคำฉันท์

มงคลสูตรคำฉันท์ 
มงคลสูตรคำฉันท์  เป็นวรรณคดี  คำสอน  ผลงานพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงนำหลักธรรม ที่เป็นพระคาถาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้งแล้วแปลถอดความเป็นคำประพันธ์ที่ ไพเราะ  มีความงดงามทั้งด้านเสียงและความหมาย  สามารถจดจำได้ง่าย  มงคลสูตรคำฉันท์นี้จะเกิดแต่ตัวเราเองได้ก็ต้องเป็นผลมาจากการประพฤติ ปฏิบัติดีของตนเองเท่านั้น  หาได้มาจากปัจจัยอื่นเลย
       ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
       ลักษณะคำประพันธ์ :  กาพย์ฉบัง ๑๖ และอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ แทรกคาถาบาลี
       จุดมุ่งหมายในการแต่ง : เพื่อให้ตระหนักว่าสิริมงคลจะเกิดแก่ผู้ใดก็เพียงผลมาจากการปฏิบัติของตนทั้งสิ้นไม่มีผู้ใดหรือสิ่งใดจะทำให้เกิดสิริมงคลแก่เราได้  นอกจากตัวเราเอง
        ความเป็นมา
         เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงนำมงคลสูตรมาทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทร้อยกรองประเภทคำฉันท์  โดยใช้คำประพันธ์ ๒ ชนิดคือ  กาพย์ฉบัง ๑๖ และอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ ทรงนำคาถาภาษาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้งแล้วแปลถอดความเป็นร้อยกรองภาษาไทย  ได้ถูกต้องตรงตามบังคับในฉันทลักษณ์โดยไม่เสียเนื้อความจากพระคาถาบาลี  การจัดวางลำดับของมงคลแต่ละข้อก็เป็นไปตามที่ปรากฏอยู่ในพระคาถาเดิม  ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพทางด้านภาษาได้อย่างดียิ่ง
“อเสวนา จ พาลานํ ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา
ปูชา จ ปูชนียานํ  เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
หนึ่งคือบ่คบพาล  เพราะจะพาประพฤติผิด
หนึ่งคบกะบัณฑิต  เพราะจะพาประสบผล
หนึ่งกราบและบูชา อภิบูชนีย์ชน
ข้อนี้แหละมงคล  อดิเรกอุดมดี” อ่านเพิ่มเติม
       

หน่อยการเรียนรู้ที่6 ทุกข์ของชาวนาในบทกวี

 ประวัติผู้แต่ง
     สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามราชกุมารี ทรงประกอบพระราชกรณียกิจหลายประการ ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมร้อยแก้ว ร้อยกรอง และงานแปล ในงานพระราชนิพนธ์แต่ละเรื่อง พระองค์จะใช้
ลักษณะคำประพันธ์


     ทุกข์ของชาวนาในบทกวี เป็นบทความแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นบทความที่มีจุดมุ่งหมายที่จะแสดงความคิดเห็นในประเด็นใดประเด็นหนึ่ง  ความคิดเห็นที่มานำเสนอได้มาจากการวิเคราะห์ การใช้วิจารณญาณไตร่ตรองของผู้เขียน โดยผ่านการ สำรวจปัญหา ที่มาของเรื่อง และข้อมูลต่างๆ อย่างละเอียดความคิดเห็นที่นำเสนออาจจะเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาตามทัศนะของผู้เขียนหรือการโต้แย้งความคิดเห็นของผู้อื่นมาก่อน
เรื่องย่อ
เนื้อความในตอนแรกของบทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี สมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้ทรงยกบทกวีของ จิตร ภูมิศักดิ์ซึ่งกล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ยากของชาวนา 
ทุกข์ของชาวนาในบทกวี

เปิบข้าวทุกคราวคำ              จงสูจำเป็นอาจิณ
เหงื่อกูที่สูกิน                                 จึงก่อเกิดมาเป็นคน

ข้าวนี้น่ะมีรส                        ให้ชนชิมทุกชั้นชน

       เบื้องหลังสิทุกข์ทน                        และขมขื่นจนเขียวคาว

จากแรงมาเป็นรวง              ระยะทางนั้นเหยียดยาว

          จากรวงเป็นเม็ดพราว                      ล้วนทุกข์ยากลำเค็ญเข็ญ

          เหงื่อหยดสักกี่หยาด            ทุกหยดหยาดล้วนยากเย็น

ปูดปูนกี่เส้นเอ็น                              จึงแปรรวงมาเปิบกิน

น้ำเหงื่อที่เรื่อแดง                 และน้ำแรงอันหลั่งริน

สายเลือดกูทั้งสิ้น                             ที่สูซดกำซาบฟัน  
                                                                                                               (จิตร ภูมิศักดิ์)


หน่วยการเรียนรุ้ที่5 หัวใจชายหนุ่ม

หัวใจชายหนุ่ม เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยใช้
พระนามแฝงว่า รามจิตติ  เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ ในหนังสือพิมพ์ ดุสิตสมิต เมื่อ พ.ศ. 2464 ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน 18 ฉบับ รวมระยะเวลาที่ปรากฏตามจดหมายทั้งหมด 1 ปี 7 เดือน 
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้ทรงสร้างตัวละครเอกขึ้นโดยสมมติให้มีตัวตนจริง คือ ประพันธ์ ประยูรสิริ  เป็นผู้ถ่ายทอดความนึกคิดและสภาพของสังคมไทยผ่านมุมมองของ ชายหนุ่ม (นักเรียนนอก) ในรูปแบบของจดหมายที่ส่งถึงเพื่อนชื่อ ประเสริฐ สุวัฒน์  โดยทรงพระราชนิพนธ์ชี้แจงไว้ในคำนวนิยาย
ลักษณะการแต่ง
หัวใจชายหนุ่มเป็นร้อยแก้วในรูปแบบของจดหมายโดยมีข้อควรสังเกตสำหรับรูปแบบจดหมายทั้งหมด 18ฉบับในเรื่อง ดังนี้
  1).หัวจดหมาย ตั้งแต่ฉบับที่ 1 วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 246- จนถึงฉบับสุดท้ายวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 246- จะเห็นว่ามีการเว้นเลขท้ายปี พ.ศ.ไว้
2).คำขึ้นต้นจดหมาย ทั้ง 18 ฉบับ ใช้คำขึ้นต้นเหมือนกันหมด คือ “ถึงพ่อประเสริฐเพื่อนรัก”
3).คำลงท้าย จะใช้คำว่า “จากเพื่อน…” “แต่เพื่อน…” แล้วตามด้วยความรู้สึกของนายประพันธ์ เช่น “แต่เพื่อนผู้ใจคอออกจะยุ่งเหยิง” (ฉบับที่ 10) มีเพียง 9 ฉบับเท่านั้น ที่ไม่มีคำลงท้าย
4).การลงชื่อ ตั้งแต่ฉบับที่ 14 เป็นต้นไปใช้บรรดาศักดิ์ที่ได้รับพระราชทาน คือ “บริบาลบรมศักดิ์”โดยตลอด แต่ฉบับที่ 1-13 ใช้ชื่อ “ประพันธ์
5).ความสั้นยาวของจดหมาย มีเพียงฉบับที่ 14 เท่านั้นที่มีขนาดสั้นที่สุด เพราะเป็นเพียงจดหมายที่แจ้งไปยังเพื่อนว่าตนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์

หน่วยการเรียนรู้ที่4 นิราศนรินทร์คำโคลง

นิราศนรินทร์คำโคลง
    นิราศนรินทร์เป็นบทประพันธ์ประเภทนิราศคำโคลงที่โด่งดังที่สุดในยุครัตนโกสินทร์ ทัดเทียมได้กับ"กำสรวลศรีปราชญ์ "และ"ทวาทศมาส"ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผู้แต่งคือ นายนรินทร์ธิเบศร์(อิน) แต่งขึ้นเมื่อคราวตามเสด็จ กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ไปทัพพม่าในสมัยรัชกาลที่สอง ไม่มีบันทึกถึงประวัติของผู้แต่งไว้ อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่3 นิทานเวตาลเรื่องที่10

เรื่อง  นิทานเวตาล เรื่องที่ ๑๐
๑) เวตาล  เป็นชื่อตัวละครตัวเอกของเรื่อง นิทานเวตาลมีหลายเรื่อง
๒)  ผู้แปล  พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (น.ม.ส.)
     พระนามเดิม พระองค์เจ้ารัชนี  แจ่มจรัส
     นามแฝง  น.ม.ส. นำมาจากพยัญชนะตัวสุดท้ายของชื่อ และนามสกุล
๓)  ลักษณะการแต่ง  ร้อยแก้วประเภทนิทาน  มีคำประพันธ์แทรกบ้างบางตอน
๔)  ที่มาของเรื่อง
      น.ม.ส. ทรงใช้นิทานเวตาลฉบับภาษาอังกฤษของเซอร์ริชาร์ด เอฟ เบอร์ ตัน เป็นหลัก
      ในการเรียบเรียงเป็นภาษาไทย  ทรงเรียบเรียงเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๑

๕) โครงเรื่องนิทานเวตาล อ่านต่อเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่2 อิเหนา ตอนศึกกะหนังกุหนิง

อิเหนา เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 เป็นบทละครรำที่พร้อมเพรียงทั้งเนื้อหา ความไพเราะ กระบวนการเล่นละคร และยังสะท้อนถึงประเพณีไทยในอดีต โดยแม้บทละครรำเรื่อง อิเหนา จะมีพื้นเพมาจากชวา แต่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ก็ทรงปรับแก้ให้เข้ากับธรรมเนียมของบ้านเมือง และรสนิยมของคนไทย

 ลักษณะคำประพันธ์ เรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง
         ลักษณะคำประพันธ์เป็นกลอนบทละคร แต่มีลักษณะบังคับเหมือนกลอนสี่สุภาพ แต่ละวรรคจะขึ้นด้วยคำว่า เมื่อนั้น บัดนั้น และ มาจะกล่าวบทไป

 จุดมุ่งหมายของบทละคร เรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง
         เพื่อใช้ในการแสดงละครใน อ่านต่อเพิ่มเติม